วันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 6

           จากการที่ได้เรียนรู้วิธีการสร้างและใช้งานบล็อก โดยมีส่งงานผ่านทางบล็อก ข้าพเจ้าคิดว่ามีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนหรือการบริหาร เนื่องจากผู้เรียนสามารถใช้เป็นเครื่องมือสร้างความรู้ บันทึกข้อมูล เรื่องราว ข่าวสารความ รู้และประสบการณ์ต่าง ๆ ในสิ่งที่สนใจ เป็นการถ่ายทอดสิ่งที่ถูกบันทึกไว้ในสมองลงสู่ตัวหนังสือ การเขียนมีอิสระทางความคิดในรูปแบบที่เป็นตัวของตัวเอง ถ้าผู้เรียนมีการเขียน บล็อก อยู่เป็นประจำก็จะสามารถนำมาสู่การสร้างขุมความรู้ของผู้เรียนอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ ผู้เรียนสามารถเก็บรวบรวมและแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อมูลความรู้ต่าง ๆ ได้โดยสะดวกและรวดเร็ว บล็อกยังเป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ความรู้ ให้กับผู้เรียน โดยหลักการของ บล็อก คือการเผยแพร่เรื่องราวที่ผู้เขียนเขียนไว้บนบล็อก เพื่อแสดงตัวตนของผู้เขียนออกสู่สาธารณชนซึ่งนั่นหมายถึง บล็อก ย่อมมีความสามารถในการสนับสนุนการเข้าถึงความรู้ได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว บล็อกจะเป็นเครื่องมือแลกเปลี่ยนความรู้ของผู้เรียน การเขียนบล็อก จะอนุญาตให้ผู้อ่านสามารถแสดงความคิดเห็นต่อความรู้ที่ผู้เรียนเขียนถ่ายทอดลงไปในบล็อก และ ผู้เรียนได้เขียนโต้ตอบต่อความคิดเห็นนั้น ๆ ในลักษณะของการสนทนาเพื่อหาความแตกฉานในตัวความรู้ บล็อกเป็นเครื่องมือในการค้นหาความรู้ ของผู้เรียน ผู้ปฏิบัติงาน การเขียนและอ่าน บล็อก เป็นวิธีการค้นหาความรู้ ช่วยให้ค้นพบผู้มีความรู้ความชำนาญในด้านต่าง ๆ ได้รวดเร็วขึ้น ไม่ว่าจะโดยการเขียน บล็อก ที่มักอ้างถึง บล็อก อื่น ๆ โดยการโยงลิงค์ไปหาบทความหรือบันทึกนั้น ๆ อีกทั้งลิงค์ที่ผู้เรียนบรรจุไว้ในบล็อก ซึ่งอยู่นอกตัวบทความ หรือการร่วมเป็นสมาชิกของบล็อก ในกลุ่มที่เรียน   นอกจากนี้การสร้างบล็อกจะได้ฝึกประสบการณ์ในการใช้คอมพิวเตอร์เพิ่มมากขึ้น ทำให้ผู้เรียนมีความคล่องตัวในการใช้ เครื่องคอมพิวเตอร์มากขึ้น
ข้อดี ของการทำบล็อก
1. สร้างง่ายไม่เสียเงิน ไม่จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับภาษาคอมพิวเตอร์ต่างๆ ที่ใช้ในการสร้างเว็บไซต์ ไม่ต้องซื้อหนังสือเกี่ยวกับการสร้างเว็บไซต์เล่มโต ซึ่งช่วยลดเวลาที่ใช้ในการสร้างเว็บไซต์ส่วนตัวของเราได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังไม่มีค่าใช้จ่ายในการเช้าพื้นที่บนอินเทอร์เน็ตอีกด้วย
2. เป็นสื่อที่ใช้ในการแสดงความคิดเห็น ความรู้สึกของผู้เขียนเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ เพื่อเสนอให้ผู้คนสาธารณะได้รับรู้
3.เป็น เครื่องมือช่วยในการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ การเสนอข่าวสารความเคลื่อนไหวขององค์กร เป็นต้น
4.เป็นแหล่งความรู้ใหม่ๆ ที่ถูกต้องและชัดเจน จากผู้นั้น เนื่องจากผู้เขียน บล็อก มักจะเขียนถึงเรื่องที่ตัวเองถนัด ชอบ และมีมีความรู้เฉพาะด้านๆความรู้ลึกในเรื่องนั้นๆ การค้นหาข้อมูลเฉพาะด้านใน บล็อก ต่างๆ จึงทำให้เราค้นพบความรู้ และผู้มีความรู้ความชำนาญในด้านต่าง ๆ ได้รวดเร็วขึ้น
5.ทำให้ทันต่อ เหตุการณ์ในโลกปัจจุบัน เพราะข่าวสารความรู้ มาจากผู้คนมากมาย(ทั่วโลก) และมักจะเปลี่ยนแปลงได้ทันกับเหตุการณ์ปัจจุบันเสมอ
6. เจ้าของบล็อกมีอิสระที่จะนำเสนอ อะไรก็ได้ ที่ไม่ไปก้าวล่วงบุคคลอื่น ที่ไม่ผิดกติกาของผู้ให้บริการบล็อกที่เราทำอยู่ ที่ไม่ผิดกฎหมายและศีลธรรม ประเพณีที่ดีงาม
7. เปิดโอกาสให้บล็อกเกอร์ได้รับฟัง แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้โดยอิสระ จะรับไว้ จะไม่อ่าน จะตอบ จะลบ ก็ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของเจ้าของบล็อก
8.ผู้ที่สร้างบล็อกสามารถ ปรับแต่งบล็อกให้เป็นรูปแบบที่ตนต้องการได้โดยไม่ต้องมีความรู้ในเรื่องภาษาคำสั่งของโปรแกรมมากมาย
9. พอเจอเพื่อนใหม่ สามารถสร้างเครือข่าย ชุมชนสัมพันธ์ระหว่างบล็อกเกอร์ที่มีความคิด ความสนใจ ความรู้สึก ร่วมกันได้
10. เป็นเหมือนบันทึกประจำวัน เป็นที่เก็บข้อมูลขององค์กร
ข้อเสียของการทำบล็อก
1.เจ้าของบล็อกมีอิสระในการนำเสนอบทความ โดยไม่ต้องมีการตรวจสอบจากใครก่อน อาจโพสต์เรื่องที่ไม่เหมาะสมได้ ซึ่งเจ้าของบล็อก ต้องมีกติกาให้ตัวเอง หรือใช้จริยธรรมของแต่บุคคล ความมีเหตุมีผล ความระมัดระวัง รอบคอบในการโพสต์ข้อความต่างๆ
2. เนื้อหาที่อยู่ในบล็อก หากไม่ใช่ผลงานวิจัย หรือ วิทยานิพนธ์ ที่ทำตามหลักวิชาการ หรือ ตัวบทกฎหมาย ก็อาจมีความน่าเชื่อถือน้อย หากเกิดความผิดพลาดใดๆ ผู้ที่นำข้อมูลไปใช้อ้างอิง อาจประสบปัญหาได้
3. เปิดโอกาสให้พวกที่ไม่หวังดี เข้ามาเปิดบล็อก ก่อกวน หรือผู้ที่มีความคิดเห็นแตกต่างกัน มาอยู่ร่วมในชุมชนเดียวกัน เพิ่มโอกาสให้มีการแสดงออกถึงการขัดแย้งอย่างไม่มีเหตุผล สร้างความไม่สามัคคี ทะเลาะกันได้

กิจกรรมที่ 5 ศึกษาดูงานประเทศมาเลเซีย-สิงคโปร์

1. วิธีการไปศึกษาดูงานมีขั้นตอนในการไปศึกษาดูงานดังต่อไปนี้
   1.1  ประชุมนักศึกษาเพื่อร่วมกันเลือกสถานที่ไปศึกษาดูงาน
   1.2  เสนออาจารย์เพื่อเขียนโครงการเสนอมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
   1.3  ประชุมกรรมการเพื่อเตรียมการเกี่ยวกับสถานที่ไปศึกษาดูงาน
   1.4  เลือกทัวร์ที่เหมาะสมในเรื่องรถ ราคา  วัน  สถานที่
   1.5  จัดเก็บเงิน 
   1.6  ขออนุญาตไปศึกษาดูงานต่างประเทศ
   1.7  นัดหมายกำหนดการที่แน่นอน
   1.8  เดินทางไปศึกษาดูงาน
   1.9  สรุปรายงานผลการไปศึกษาดูงาน
2. เล่าบรรยากาศสิ่งที่ได้ สิ่งที่พบปะ
                วันจันทร์  ที่  24 มกราคม 2554
               รถออกจาก ม.ราชภัฏนครศรีธรรมราช   มุ่งหน้าสู่ด่านสะเดา จ.สงขลา รับประทานอาหารเช้า บนรถ  (ข้าวมันไก่ )ประทับตราหนังสือเดินทาง  ที่ด่านชายแดนไทยเข้าสู่ด่านจังโหลน ประเทศมาเลเซียเข้าสู่สถานที่ดูงาน Sekolah  Kebangsaan Kodiag school รับประทานอาหารเที่ยง( ข้าวหมกไก่ ) ที่ Sekolah  Kebangsaan Kodiag school  ออกจาก Sekolah  Kebangsaan Kodiag school มุ่งหน้าสู่ เกาะปินัง   แลกเงิน ณ จุดแปลกเปลี่ยนเงิน  รับประทานอาหารเย็น เข้าพักโรงแรม Grand  Continental
                วันอังคารที่  25 มกราคม 2554 
               ชมป้อมปืน ชมพระราชวังของประเทศมาเลเซีย ชมอนุสาวรีย์ทหารอาสา ชมเสาธงที่สูงที่สุดในโลก ชมตึก เดินทางสู่เก็นติ้งเมืองมหานครบนภูเขาสูง นั่งกระเช้าไฟฟ้า สู่ยอดเขาเก็นติ้ง ถึงเก็นติ้ง เข้าสู่ที่พัก โรงแรม First World
                วันพุธ  ที่  26 มกราคม 2554  
                ชมรัฐสภา มัสยิดสีชมพู เดินทางต่อมุ่งหน้าสู่โยโฮบารูเมืองชายแดนติดกับประเทศสิงคโปร์ถึงด่านแจ้งหนังสือเดินทางออกจากมาเลเซียเพื่อเข้าสู่ประเทศสิงคโปร์ที่ด่านวู๊ดแลนด์เข้าสู่ที่พัก AQUEEN HOTEL
                วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม 2554 
                ชมบริเวณอ่าวสิงคโปร์ บริเวณเมอร์ไลออน  ร้านดิวตี้ฟรี ช้อบปิ้งบริเวณถนออร์ชาร์ด รับประทานอาหารเที่ยง  เกาะเซ็นโตซ่า (Sentosa) ชมยูนิเวอร์เซล ชมภาพยนตร์ 4 มิติ ( 4D ) นั่งรถไฟฟ้า ชมบรรยากาศ  รับประทานอาหารเย็น ชมน้ำพุเต้นระบำ Song of the sea   ล่องเรือชมอ่าวสิงคโปร์  ออกจากสิงคโปร์กลับสู่ประเทศมาเลเซีย  เข้าพักโรงแรม Selasa
                วันศุกร์ที่ 28 มกราคม 2554
                รับประทานอาหารเช้าที่โรงแรม   Selasa  ออกจากโรงแรม    รับประทานอาหารเที่ยง   ร้านดิวตี้ฟรี เดินทางสู่ประเทศไทย  รับประทานอาหารเย็นตามอัธยาศัย  ถึงมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
ความประทับใจ
                จากการได้ไปศึกษาดูงานครั้งนี้ ได้รับความรู้และประสบการณ์ที่มากมายหลายอย่าง ได้เห็นกระบวนการการบริหารจัดการศึกษาของประเทศเพื่อนบ้าน ได้เห็นสภาพบ้านเมือง วิถีการดำเนินชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมืองของทั้งสองประเทศ การปฏิบัติตามกฏจราจรที่เคร่งครัด และสภาพบ้านเมืองที่สวยงาม แต่ทั้งนั้นทั้งนี้ก็คิดว่าไม่มีที่ไหนจะน่าอยู่ไปกว่าเมืองไทยของเรา
การนำมาใช้กับการบริหาร
                1. การบริหารจะสำเร็จจะต้องสร้างความร่วมมือของทุกฝ่าย ตั้งแต่ผู้กำหนดนโยบายระดับบนถึงล่าง จนกระทั่งผู้ปฏิบัติ
                2.การนำความต้องการของมนุษย์มาสู่การวางแผนทางด้านธุรกิจ ได้แก่ ที่ genting highland นำความต้องการการเสี่ยงโชคและความบันเทิงของมนุษย์ มาล่อเพื่อเข้าใช้บริการ ในด้านการบริหารการศึกษา เราจะต้องสำรวจความต้องการของชุมชน นำความต้องการเข้าสู่แผนของโรงเรียน
                3.การเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกันระหว่างบริษัททัวร์กับร้านค้า ในการบริหารก็ต้องสร้างเครือข่ายและต่างมีผลประโยชน์ซึ่งกันและกันจึงจะอยู่กันได้และเดินไปสู่ความเจริญก้าวหน้าร่วมกัน

กิจกรรมที่ 4

โรงเรียนวัดคลองใหญ่ หมู่4  ตำบลเกาะเต่า อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง เป็นโรงเรียนจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคน ทั้งระดับก่อนประถมศึกษา และระดับประถมศึกษา
จุดเน้นของโรงเรียน
1.ความปลอดภัยและขวัญกำลังใจครูและบุคลากรทางการศึกษา
2.การแก้ปัญหาเด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้
3.การป้องกันและรักษาสุขภาพของนักเรียน
4.ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในทุกระดับ
5.การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา
6.การวิจัยและการนำผลการวิจัยมาพัฒนาการเรียนการสอน
7.สิ่งแวดล้อมมีบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้
8.สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน
สภาพเงื่อนไข ข้อจำกัด ที่เกิดกับโรงเรียน และเป็นอุปสรรคทำให้ไม่สามารถดำเนินงานได้ตามเป้าหมาย
1. ระบบการบริหารจัดการยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร  โดยเฉพาะเรื่องการวางแผน  การนิเทศกำกับ ติดตามการประเมินผลและนำผลที่ประเมินมาใช้ในการพัฒนางาน
2. บุคลากรขาดความต่อเนื่องในการทำงาน  เนื่องจากไม่มีความมั่นคงด้านวิชาชีพเพียงพอ  มีการเปลี่ยนตัว
    บุคลากรบ่อย ๆ
3. ขาดแนวทาง  นโยบาย ในการบริหารที่ชัดเจน
4. ครูอาจารย์ขาดขวัญกำลังใจ  จิตวิญญาณที่มั่นคงต่อศาสนา
5. ไม่เข้าใจเรื่องการปฏิรูการศึกษาของโรงเรียนปริยัติธรรมชัดเจน  เนื่องจากกรมการศาสนา หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ได้กำกับติดตาม และให้แนวทางที่ชัดเจน
6. ครูบางส่วนไม่ได้สำเร็จการศึกษาด้านวิชาชีพครูโดยตรง  ไม่เข้าใจกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญอย่างชัดเจน
7. ครูคนเดียวสอนหลายวิชา  ทำให้ไม่เกิดความเชี่ยวชาญในวิชาใดวิชาหนึ่ง
8. นักเรียนส่วนมากของโรงเรียนเป็นเด็กมีฐานะค่อนข้างยากจน  เป็นโรคทุพโภชนาการ ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนต่ำ 
9. งบประมาณการจัดการศึกษาไม่เพียงพอ  ทำให้ไม่สามารถพัฒนางานด้านต่าง ๆ ให้บรรลุเป้าหมายตามที่ตั้งไว้ได้
ระบบข้อมูลสถานศึกษา 
-  ข้อมูลสถานศึกษา ข้อมูลนักเรียน ข้อมูลบุคลากร ข้อมูลงานทะเบียน ข้อมูลวิชาการและอื่นๆของโรงเรียน ที่มีอยู่แล้วจำกัดอยู่เฉพาะในกลุ่มงาน/ฝ่าย ซึ่งอยู่ในรูปเอกสาร
- มีการจัดเก็บข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปที่ได้จากต้นสังกัด เช่น OBEC-SMIS  , M-OBEC , B-OBEC  ,P – OBEC  และเป็นเอกสารที่สามารถใช้งานได้ในระดับหนึ่ง  แต่ยากในการค้นหาหรือการนำข้อมูลมาใช้
- ในการพัฒนาควรจัดเก็บข้อมูลที่เป็นสำเนาคู่ฉบับที่ฝ่ายงานสารบรรณของโรงเรียน 1 ชุด  เพื่อความสะดวกในการค้นหาและการนำข้อมูลกลับมาใช้  และ  การจัดทำทะเบียนควบคุมข้อมูลของแต่ละฝ่ายงาน โดยนำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วย
ให้นักศึกษาคิดระบบนวัตกรรมที่จะใช้ในการบริหารหรือการเรียนการสอนของนักศึกษาจะทำอย่างไร จึงจะมีประสิทธิภาพในการทำงาน สัก 1 เรื่องที่ได้ศึกษาจากอาจารย์ผู้สอน นำไปประยุกต์ใช้หรือคิดใหม่และคิดว่าจะประสบสำเร็จได้ เขียนเล่าวิธีคิดที่จะทำให้ประสบผลสำเร็จ
แนวทางการนำระบบนวัตกรรมไปใช้ในการบริหารและการจัดการเรียนการสอน      
- ปรับระบบเทคโนโลยีภายในห้องเรียนติดตั้ง โปรเจคเตอร์ คอมพิวเตอร์ และระบบอินเตอร์เน็ต
ทุกห้อง
- จัดอบรมครูในการสร้าง blog ของตนเอง การนำไปใช้สอนนักเรียน และการเสนอผลงาน
- ผู้บริหารประเมินผลการปฏิบัติงานของครูจากblog
- เผยแพร่นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนและการบริหารไปยัง หน่วยงานต้นสังกัดและหน่วยงานที่สนใจต่อไป

วันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

แนะนำตัวครับ


นายปราโมทย์  เกลี้ยงสิน
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พัทลุง
เกิดวันที่  25  ธันวาคม 2506
จบการศึกษาจากวิทยาลัยครูยะลา
งานที่รับผิดชอบ  คือ  หัวหน้างานบุคลากร
สถานที่ทำงาน โรงเรียนวัดคลองใหญ่
คติ คิดทุกคำที่พูดแต่อย่าพูดทุกคำที่คิด
เบอร์โทรศัพท์ 081-7988363